Translate

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Cloud Computing คืออะไร

 loud computing เป็นเทรนด์ใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจจากหลายๆ ด้าน แม้ช่วงนี้จะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรมระบบ แต่ถือว่าเป็นการตอบโจทย์ทั้งด้านความต้องการของผู้ใช้และทรัพยากรที่จำกัด เช่น ผู้ใช้งานระบบต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูล ความเร็วในการประมวลผล และติดต่อลูกค้า Cloud computing จะเข้ามาทำการประมวลผลตามความต้องการทั้งเรื่องของพื้นที่ และสามารถจำกัดความเร็วในการประมวลผลให้ตรงความต้องการของผู้ใช้งานที่ร้อง ขอไป
   

  โดยให้คอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกัน เชื่อมโยงและแบ่งกันประมวลผล ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ร่วมประมวลผลหลายๆ เครื่องไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน แต่เชื่อมต่อกันผ่านระบบเครือ-ข่ายแบบกริด (Grid) คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลในกลุ่มที่เราเรียกว่า Cloud นี้ อาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้มีระบบปฏิบัติการและทรัพยากรเหมือนกัน และหน้าจอของผู้ใช้งาน (User Interface) จะแสดงผลที่รวดเร็วตามความต้องการของระบบที่ร้องขอไป โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่า เบื้องหลังนั้นระบบจะทำงานกันอย่างไร)หากมองย้อนกลับไป Cloud computing หรือการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆนั้น เคยผ่านตาเรามาบ้างหรือไม่ ให้พิจารณาที่ Google Application ที่เห็นชัดเจนที่สุดคงจะเป็น Google Earth, Google Maps และ Google Docs ซึ่ง Google Earth หากเรา เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเมื่อไร เราสามารถชมภาพถ่ายดาวเทียมผ่าน Application ตัวนี้ ถัดมา Google Maps เป็น Platform Application ที่อำนวยความสะดวกในเรื่องการค้นหาสถานที่และลักษณะทางภูมิศาสตร์ ทั้งยังมี Feature ตั้งแต่การหาเส้นทาง หาตำแหน่งพิกัดที่ตั้งขององค์กร หรือสถานที่ที่เราต้องการ สุดท้าย Google Docs เป็น Application ที่จำลองโปรแกรมด้าน Office Platform โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ใดๆ
Application ทั้งหมดทำงานผ่าน Browser ตอบโจทย์ด้าน Cloud computing ได้ชัดเจนที่สุด ไม่ต้องเสียเวลาจัดสรรทรัพยากร ประหยัดงบบริษัทเพราะไม่ต้องหาซอฟต์แวร์ด้าน Office มารองรับ สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับซอฟต์แวร์ด้าน Office Platform มาตรฐานทีเดียว
หากพิจารณา Google Application ทั้งหลายแล้ว เป็นระบบที่ใหญ่และทำงานหนักพอสมควร แต่เวลาที่ประมวลผลใช้เวลาน้อยนิด ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องติดตั้งอะไรมากมายนอกจาก Browser มาตรฐานที่เราใช้กันเป็นประจำ ผนวกกับเทคโนโลยี Web 2.0 ทำให้ระบบจัดสรรผู้ใช้งานในปริมาณมาก ไม่เกิดช่องว่างระหว่างการประมวลผล ขยายผู้ใช้งานได้เรื่อยๆ หากเกิดความต้องการในการใช้ระบบหรือที่เรียกว่า Scalability
ข้อดีในส่วนนี้ ทำให้แยกการทำงานของผู้ใช้ และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ร่วมประมวลผลผ่านเครือข่าย Cloud อย่างชัดเจน การแสดงผลที่ปรากฏจึงดูเสถียรและมีประสิทธิภาพ
Cloud computing จะเป็น Business Model ที่ยอมรับจากหลายบริษัท เพราะนอกจาก Application ที่จำลองการทำงานของซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ (Virtualized) แล้วในต่างประเทศยังมีหลากหลายองค์กรที่พยายามหรือทำการพัฒนาระบบปฏิบัติการ เสมือน หรือระบบจำลอง Operating System ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่รองรับธุรกิจ
กลุ่มเป้าหมายที่เห็นได้ชัด คือกลุ่มธุรกิจขนาดย่อมที่มีทุนไม่มากนักในการติดตั้งระบบปฏิบัติการ ตัวอย่างการจำลองระบบปฏิบัติการ ที่สามารถยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ดีที่สุด น่าจะเป็น Open Source ตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า EyeOs ซึ่งเป็นระบบ Web Base Operating System ซึ่งมีหน้าจอการทำงานที่ใกล้เคียงระบบปฏิบัติการหลักๆ อย่าง Microsoft Windows หรือ Linux เลยทีเดียว
โดยคุณสมบัติการทำงานของ EyeOs นั้นจำลองความสามารถทุกอย่างที่ระบบปฏิบัติการมาตรฐานมี ตั้งแต่การ Upload รูปภาพไปไว้บนหน้าจอ Desktop ของ EyeOs เล่น Game และ Chat ผ่านเครือข่ายกับกลุ่มเพื่อน สร้าง Document ผ่าน Text Editor  บนระบบ สามารถเปิด Browser ภายใน EyeOs ผ่าน Browser อีกที และที่สำคัญลูกเล่นที่น่าสนใจ คือมีระบบ FTP (File Transfer Protocol) อย่างง่ายในตัว สามารถเชื่อมต่อและ Upload ไฟล์งานที่แก้ไข โดยไม่ต้องเสียเวลาเปิดโปรแกรมบนเครื่องของเรา

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


เทคโนโลยี DLNA คืออะไร

Submitted by admin on Tue, 07/16/2013 - 11:49
DLNA มาจากคำว่า Digital Living Network Alliance  ซึ่งถ้าจะให้แปลเป็นไทยแบบเข้าใจง่ายก็คือ " พันธมิตรเครื่อข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย" โดยจะใช้งานได้นั้นอุปกรณ์จะต้องมีเครื่องหมาย DLNA ติดอยู่เพื่อระบุว่าสามารถใช้งานเทคโนโลยีนี้ได้
เทคโนโลยี DLNA  นี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 2003 ก่อตั้งโดยค่าย SONY นี้เอง  ปัจจุบันนี้มีสมาชิก  245 ราย รวมทั้งแบรนด์ดังหลายแบรนด์ เช่น  ACCESS, AT&T Labs, Awox, Broadcom, Cisco Systems, Comcast, DIRECTV, Dolby Laboratories, Ericsson, Hewlett-Packard, Huawei, Intel, LG Electronics, Microsoft, Motorola, Nokia, Panasonic, Promise Technology, Qualcomm, Samsung Electronics, Sharp Corporation, Sony Electronics, Technicolor, and Verizon.และอีกหลายราย ซึ่งทีวีสมัยใหม่และอุปกรณ์อื่นๆเช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล กล้องวีดีโอ ในสเปคกลางถึงสูง ก็จะมีเทคโนโลยีนี้ติดตัวมาด้วยทั้งนั้น ซึ่งก็รวมถึง Samsung  ที่ใช้ชื่อว่า  Allshare  และ LG ก็ใช้อีกชื่อคือ Smart Share ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับมาตรฐานกลางคือ DLNA แม้จะคนละแบรนด์ แต่ก็ยังสามารถส่งถึงกันได้
ประโยชน์ของ DLNA นี้คือสามารถส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวีสำหรับการนำเสนอได้ง่ายๆผ่านทาง Wi-Fi ได้เลย ไม่ต้องต่อสายพวก VGA ติดกับคอม หรือสาย Analogเชื่อมกับตัวเครื่องเล่นให้วุ่นวาย และทำให้รกรุงรัง แน่นอนว่าทำให้การสร้าง home network ทำได้ง่ายดาย หลายๆคนก็นำมาทำเป็น media center โดยใข้คอมพิวเตอร์ส่งภาพ วีดีโอ หรือดูหนังได้บนจอทีวีใหญ่ๆ ผ่านทาง DLNA นี้ แต่ถ้าเราจะได้ใช้เทคโนโลยี DLNA …smart TV และ มือถือ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการจะส่งภาพ ส่งวีดีโอขึ้นทีวี แบบไร้สายนี้ จะต้องรองรับเทคโนโลยี DLNA ด้วยกัน โดยวิธีสังเกตอย่างง่ายๆ  คือดูที่กล่องหรือตัวเครื่องว่ามีสัญลักษณ์ DLNA หรือไม่ และ ทั้ง smart TV และมือถือ หรือ Tablet  หรือ คอมพิวเตอร์นั้นๆ จะต้องเชื่อมต่ออยู่ในวง  Wi-Fi เดียวกันกับทีวีด้วย
อุปกรณ์ที่รองรับ DLNA มีสองโหมด คือ โหมดสำหรับเป็น Server ให้ อุปกรณ์ชิ้นอื่นๆเล่นไฟล์จากตัวเรา กับอีกโหมดคือเอาอุปกรณ์ที่ถืออยู่เล่นไฟล์จากเครืองอื่นๆ  อาจจะดูงงๆ พูดอีกทีก็คือเป็นผู้เล่น หรือเป็นผู้แชร์นั่นเอง แถมอีกอันที่ลึกซึ้งหน่อยคือ สามารถเป็นตัวควบคุมให้อุปกรณ์อีกตัวเล่นไฟล์ที่อยู่บนอุปกรณ์อื่นอีกที .. เป็นไงล่ะ งงกันเลยทีเดียว
ซึ่งเท่าที่ลองมา พบว่าอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะทำตัวเองเป็นได้ทั้งตัวเล่นไฟล์และตัวแชร์ไฟล์ เช่น TV สามารถเลือกไฟล์หนังจาก Network Storage มาเล่นได้ ในขณะเดียวกัน TV เองก็สามารถแชร์ไฟล์รายการที่อัดไว้(ถ้ามี) ให้กับ Notebook หรือมือถือเอาไปเล่นต่อได้เช่นกัน
ตามทฤษฏี DLNA สามารถเป็นได้ 4 โหมด คือ
DMC (Digital Media Controllers) : อุปกรณ์ควบคุมการเล่นและดึงไฟล์ Media จาก Server (DMS)
DMS (Digital Media Servers) : ทำอุปกรณ์ของตัวเองเป็นที่เก็บไฟล์ต่างๆ (Server) ให้อุปกรณ์ตัวอื่นดึงไฟล์ของเราไปใช้งานได้
DMR (Digital Media Renderers) : มีอุปกรณ์ (DMC) มาควบคุมเราในการใช้งานตัวอย่างเช่น ทีวี, รับเสียง / วิดีโอแสดงภาพและลำโพงระยะไกล สำหรับการฟังเพลง
DMP (Digital Media Players) : อุปกรณ์ของเราเป็นตัวดึงข้อมูลจาก Server (DMS) เพื่อมาแสดงผลได้แก่ โทรทัศน์ สเตอริโอ home theater จอภาพแบบไร้สาย และเกมคอนโซล